Blog

6 วิธีเลือกซื้อไปป์ให้เหมาะกับตัวเรา

6 วิธีเลือกซื้อไปป์ให้เหมาะกับตัวเรา

6 วิธีเลือกซื้อไปป์ให้เหมาะกับตัวเรา

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับมือใหม่หัดสูบ คือการซื้อไปป์ตัวแรก แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเหมาะกับไปป์แบบไหน?

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่า บทความนี้จะไม่ขอพูดถึงเรื่องรูปลักษณ์ความสวยงามภายนอก เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับรสนิยมส่วนตัว แต่เราจะมาโฟกัสไปที่ขนาด รูปทรง วัสดุ พื้นผิว ที่มีผลต่อการใช้งานจริงๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ไปป์หรือกล้องยาสูบ จะทำจากวัสดุที่เรียกว่า “ไม้บราย” (Briar) และ ในบทความ 6 วิธีเลือกซื้อไปป์ให้เหมาะกับตัวเรา จะหมายความถึงไปป์ที่ทำจากวัตถุดิบชนิดนี้เป็นหลัก

อย่างที่รู้กันว่าไม่มีสิ่งใดในโลกที่สมบูรณ์แบบ ไปป์แต่ละตัวมีจุดเด่น และจุดด้อยในตัวของมัน ขึ้นอยู่กับว่าแบบไหนจะเข้ากับพฤติกรรมการใช้งานของเราที่สุด บางครั้งเราอาจจะมีไปป์หลายตัว เพื่อใช้งานในหลายโอกาสที่ต่างกันก็เป็นได้ แต่ก่อนที่จะไปถึงจุดนั้น ลองมาดูกันดีกว่า ว่า 6 วิธีเลือกซื้อไปป์ให้เหมาะกับตัวเรา มีอะไรบ้าง

Short vs Long
  1. ความยาวของไปป์

  • ไปป์สั้น-ยาว มีผลต่อความร้อนของควัน ลองจินตนาการเวลาคุณไปอยู่ใกล้กับเตาไฟ ก็จะรู้สึกได้ถึงความร้อน เช่นกันกับไปป์ ถ้ามองเบ้าไปป์คือเตา ยิ่งไปป์มีความยาวมากเท่าไหร่ ควันที่มาถึงปากก็จะเย็นลงเท่านั้น แต่นั่นก็หมายความว่าคุณจะต้องออกแรงดึงควันลึก และยาวขึ้นเช่นกัน ดังนั้นถ้ากังวลว่าเวลาสูบแล้วควันแล้วจะร้อนลวกปาก อย่าเลือกไปป์สั้น ให้เลือกไปป์ที่มีความยาวกลางๆ ขึ้นไปจะดีกว่า
  • ไปป์สั้น-ยาว มีผลต่อการพกพา บางคนที่เจาะจงเน้นไปที่ไปป์ตัวเล็กสั้น เพราะรู้สึกสะดวกเวลาจะพกไปสูบนอกบ้าน อีกทั้งยังรู้สึกว่าเบ้าค่อนข้างเล็ก ไม่ต้องใส่ยาเส้นเยอะ (ซึ่งก็ไม่เสมอไป) กรณีนี้ก็พบได้บ่อยเช่นกัน

สรุป

ไปป์สั้น ข้อเสีย คือ ควันร้อน อาจรู้สึกร้อนปาก เจ็บลิ้นได้ ข้อดี พกพาสะดวก ไม่ต้องใช้แรงดึงควันเยอะ

ไปป์ยาว ข้อเสีย คือ พกพายากกว่าแบบสั้น ต้องใช้แรงดึงควันมากกว่า ข้อดี ควันไม่ค่อยร้อน

Small vs Big

2. ความใหญ่ของเบ้า

ไปป์เบ้าใหญ่ ในกรณีนี้จะแบ่งได้เป็น 2 แง่มุม คือ ใหญ่ที่ขนาดภายนอก วัดจากการใช้ฝ่ามือจับว่าเต็มอุ้งมือเราแค่ไหน กับอีกอย่างคือใหญ่ที่ Chamber หรือวัดจากปริมาณที่สามารถใส่ยาเส้นได้ โดยต้องคำนวณจากความลึก (Depth) และ เส้นผ่านศูนย์กลางภายในเบ้า (Chamber Diameter) สองอย่างนี้บางครั้งอาจสัมพันธ์กัน คือตัวไปป์เองก็ใหญ่ และสามารถใส่ยาเส้นได้เยอะ แต่ก็มีบางครั้งที่ไม่เป็นอย่างนั้น เพราะไปป์ที่ดูเหมือนเล็ก หรือใหญ่ไปเลยเมื่อวัดจากสายตา พอเอาเข้าจริงปริมาณการบรรจุยาเส้นกลับกลายเป็นสวนทางกับขนาดที่เห็นภายนอกอย่างสิ้นเชิงเลยก็มี ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ ก็ควรพิจารณาจากขนาดที่มีระบุไว้ในไปป์แต่ละตัว หรือถ้าเป็นไปได้ก็ควรมาเลือกซื้อไปป์ด้วยตัวเองจะดีที่สุด

สรุป

ไปป์เบ้าใหญ่ ข้อเสีย ในการสูบแต่ละครั้งต้องใส่ยาเส้นเยอะ ใช้เวลาสูบนาน พกพายาก ข้อดี ไม่ต้องเติมยาเส้นบ่อย มีความเป็นไปได้ที่จะมีผนังเบ้าหนา สูบได้นานไม่ร้อนมือ มีน้ำหนัก จับแล้วรู้สึกเต็มไม้เต็มมือ

ไปป์เบ้าเล็ก ข้อเสีย มีความเป็นไปได้ที่จะสูบแล้วร้อนมือ เพราะผนังเบ้าที่บางกว่า ข้อดี ประหยัดยาเส้น ได้เวลาสูบไม่นาน พกพาง่าย

Bent vs Straight

3. ไปป์โค้ง กับ ไปป์ตรง

ถ้าจะแบ่งไปป์ตามองศาความโค้ง จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ไปป์โค้ง (Bent Pipe) และไปป์ตรง (Straight Pipe) แต่ไปป์โค้งเองก็มีองศาความโค้งในระดับที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น โค้งขึ้นตรงเกือบ 90 องศา (Full Bent) หรือแบบ โค้ง 45 องศา (Half Bent) สำหรับเรื่องยอดขายและความนิยม ไปป์โค้งระดับกลางๆ อย่างไปป์ Half Bent ถือว่าขายดีที่สุด

สรุป

ไปป์โค้ง ข้อเสีย ต้องใช้แรงสูบเยอะกว่า  เกิดน้ำ หรือความชื้นที่ก้นเบ้าไปป์ได้ง่ายกว่า ข้อดี ความโค้งทำให้คาบง่ายกว่า โดยเฉพาะเวลาที่ต้องใช้มือทำอย่างอื่นไปด้วย

ไปป์ตรง ข้อเสีย รู้สึกหนักถ้าต้องคาบไว้ที่มุมปาก ข้อดี ดึงควันง่าย ก้นเบ้าไม่ค่อยมีน้ำขัง ทำความสะอาดง่าย เพราะสามารถใช้ลวดล้างแยงทะลุผ่านได้ทั้งหมด

Vulcanite vs Acrylic

4. วัสดุของส่วนปากคาบ เลือก Vulcanite หรือ Acrylic

  • วัตถุดิบที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่แรกคือ Vulcanite หรือยางแข็ง สีดำ สิ่งนี้ค่อนข้างเหมาะกับคนที่มีอาการเสียวฟัน เพราะถึงจะแข็งแต่ก็ไม่ได้แข็งเหมือน Acrylic แต่ข้อเสียของ Vulcanite คือ สีจะซีดลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป หรือมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น สำผัสกับความชื้น แสง อากาศ และน้ำลายขณะสูบ วิธีการแก้ไขให้กลับมาเป็นสีดำ เงา และใหม่เหมือนเดิมนั้น คือการส่งไปขัดใหม่ แต่ก็ต้องจำไว้เสมอว่าทุกครั้งที่ขัด เนื้อยางก็จะบางลงด้วย อีกทั้งตราโลโก้ของแบรนด์ก็มีสิทธิ์ที่จะเลือนหายไปในระหว่างนี้เช่นกัน
  • ปัจจุบันวัตถุดิบที่ได้รับความนิยมทั้งในวงการช่างทำไปป์ และนักสูบทั่วโลกก็คือ อะคริลิค (Acrylic) ซึ่งมีหลายเกรด แต่ถ้าเป็นไปป์ที่มีชื่อเสียง หรือที่มีราคาไม่ถูกเกินไป จะใช้ อะคริลิคที่มีคุณภาพดี คือ มีความยืดหยุ่น ดูเงางาม และไม่ต้องดูแลรักษามาก ไม่ว่าจะวางโชว์ไว้ในตู้ที่มีแสงไฟส่องตลอดเวลา หรือจะใช้สูบเป็นประจำทุกวัน ด้ามไปป์อะคริลิคก็ยังคงความดำ เงา และสวยงามอยู่เสมอ ติดตรงที่เวลากัดคาบไว้ในปาก ออกจะแข็งไปซักหน่อย

สรุป

ปากคาบ Vulcanite ข้อเสีย สีซีดได้ตามกาลเวลา หรือเมื่อโดนแสง อากาศ หรือน้ำลายขณะสูบ ข้อดี ไม่แข็งมาก เหมาะกับคนที่มีอาการเสียวฟัน

ปากคาบ Acrylic ข้อเสีย ค่อนข้างแข็ง ยากต่อการกัดคาบไว้ที่มุมปาก ข้อดี ดูแลรักษาง่าย เช็ดทำความสะอาดได้เหมือนพลาสติกทั่วไป สีไม่เปลี่ยน

Wax vs Lacquer

5. Pipe Finishes พื้นผิวไปป์ แบบธรรมชาติ ลง Wax หรือเคลือบแลคเกอร์

ในปัจุบันเราจะเห็นไปป์ที่มีดีไซน์ทันสมัย ฉีกแนวไปป์แบบดั้งเดิมมากขึ้น บางคนมองว่าเป็นทางเลือกที่ดี ที่จะทำให้เข้าถึงคนยุคนี้มากขึ้น และยังได้ขยายขอบเขตของการออกแบบ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เป็นทางเลือกให้นักสูบ หรือแม้กระทั่งนักสะสม แต่ในแง่ของการใช้งานก็อาจมีความแตกต่างอยู่บ้าง เช่น ไม้ที่มีการลงสีปิดทับด้วย แลคเกอร์ มีผลต่อการระบายความร้อนของตัวไปป์ บางคนให้ข้อสังเกตว่าไปป์แบบนี้จะร้อนง่าย และมีสิทธิ์ที่สีจะบวมพอง ในขณะที่การเคลือบ Wax กลับไม่ส่งผลมากเท่าไหร่นัก โดยเฉพาะเมื่อเวลาผ่านไป ความเงางามก็อาจค่อยๆ หายไปตามกาลเวลา แต่ไปป์ก็ระบายความร้อนได้ดี ส่วนไปป์ที่เป็น Natural Finish หรือแบบเปลือยไม้ธรรมชาติเลย จะมีการระบายความร้อนได้เต็มที่ แต่ส่วนใหญ่แล้วไปป์แบบนี้มักมีราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากทางโรงงานจะต้องคัดเกรดไม้ที่มีตำหนิน้อยที่สุด เพอร์เฟคที่สุด ถึงจะกล้าโชว์ผิวไม้สดๆ แบบนี้ได้ อีกทั้งสีของไม้ก็มีโอกาสสูงที่เปลี่ยนเป็นเข้มขึ้นตามการใช้งาน

สรุป

พื้นผิวไปป์แบบ Natural Finish ข้อเสีย ราคาแพง เห็นตำหนิบนลายไม้ชัด สีอาจเปลี่ยนเป็นเข้มขึ้น เมื่อมีการใช้งาน ข้อดี ระบายความร้อนได้ดี มองเห็นธรรมชาติของไม้ชัดเจน

พื้นผิวไปป์แบบ Waxed Finish ข้อเสีย ตัว Wax เคลือบอาจหลุดไปขณะใช้งาน และไม่เงาเหมือนวันแรกที่ซื้อ ข้อดี ไปป์ระบายความร้อนได้ดี ปกปิดตำหนิของเนื้อไม้ได้จากการลงสีก่อนเคลือบแวกซ์

พื้นผิวไปป์แบบ Lacquered Finish ข้อเสีย ไปป์ระบายความร้อนได้ยาก ไปป์ร้อนง่าย อาจเกิดสีบวมพอง ข้อดี มีสีสันสวยงาม สะดุดตา ดีไซน์แปลกตา ทันสมัย เงางามอยู่เสมอ

3mm vs 6mm vs 9mm

6. ไปป์ฟิลเตอร์

ถ้าแบ่งตัวฟิลเตอร์ หรือขนาดของช่องให้ลมผ่านตามขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง จะแบ่งได้เป็น 3 ไซส์หลักๆ คือ 3 mm. 6 mm. และ 9 mm. ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดีและข้อเสียต่างกัน ขึ้นอยู่กับความถนัด และพฤติกรรมการสูบของแต่ละคน

  • ขนาดฟิลเตอร์ 3 mm. นั้น จะแยกได้เป็น 2 แบบ คือ แบบที่มีฟิลเตอร์เหล็ก (Metal Filter) กับแบบไม่มี (Non Filter) ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าทางโรงงานจะใส่เหล็กเข้ามาให้ตั้งแต่แรกรึเปล่า ซึ่งถ้าไม่มีเหล็กใส่มาให้ตั้งแต่แรก ทาง Origin Pipe Club ไม่แนะนำให้หามาใส่เอง เพราะมีความเสี่ยงที่เหล็กตัวนี้จะเข้าไปติดอยู่ในตัวไปป์ด้านใน เพราะแต่ละรุ่นออกแบบมาไม่เหมือนกัน ข้อดีของฟิลเตอร์ 3 mm. หลักๆ คือประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องคอยซื้อฟิลเตอร์เปลี่ยนบ่อยๆ แต่ก็ไม่มีตัวกรองช่วยดูดซับความชื้น และกรองนิโคติน รวมถึงไม่มีตัวป้องกันความร้อนเหมือนรุ่นที่ใส่ฟิลเตอร์ใช้แล้วทิ้ง โดยปัจจุบันนี้โรงงานไปป์ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การไม่ใส่ฟิลเตอร์มากกว่า
  • ฟิลเตอร์ขนาด 6 mm. ส่วนใหญ่แล้วพบในไปป์ข้าวโพด Missouri Meerschaum กับไปป์ Savinelli และไปป์บางแบรนด์ สามารถใส่ฟิลเตอร์แบบใช้แล้วทิ้งได้ โดยเฉพาะ ฟิลเตอร์ไม้ Balsa ที่แบรนด์ Savinelli ยกให้เป็นจุดขาย หรือจะใช้เป็นฟิลเตอร์กระดาษ Medico ที่คนส่วนใหญ่ใช้คู่กับไปป์ข้าวโพด บางคนก็เลือกที่จะไม่ใส่ฟิลเตอร์เลย เพราะสูบแล้วโล่งดี ไม่ต้องออกแรงมาก แต่ก็ไม่ได้โล่งเกินไปเหมือนแบบ 9 mm. นอกจากนี้ระยะหลัง แบรนด์ Savinelli เองก็มีการแถม Adapter ที่แปลงขนาดฟิลเตอร์ 6 mm. เป็น 3 mm. มาในไปป์บางรุ่น เป็นทางเลือกสำหรับลูกค้าด้วย
  • ฟิลเตอร์ขนาด 9 mm. ค่อนข้างเป็นที่นิยมในปัจจุบันเช่นกัน โดยเฉพาะกับแบรนด์ไปป์สัญชาติเยอรมัน VAUEN ที่เน้นผลิตแต่ไปป์ที่มีฟิลเตอร์ 9 mm. เพราะจุดขายคือการใส่ฟิลเตอร์คาร์บอน แบบใช้แล้วทิ้ง ข้อดีคือสามารถกรองทาร์ นิโคติน ดูดซับความชื้น ป้องกันความร้อนได้ดี แต่ข้อเสียคือ ต้องซื้อฟิลเตอร์เปลี่ยนบ่อยๆ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น บางคนที่ไม่ชินกับการสูบไปป์ที่มีฟิลเตอร์จะรู้สึกว่าต้องใช้แรงดึงมากกว่าปกติ

ข้อดี

ข้อเสีย

ไปป์ฟิลเตอร์ 3 mm.

  • ประหยัด เป็นแบบใช้แล้วล้าง นำกลับมาใช้ใหม่ได้
  • กรองทาร์ นิโคตินไม่ได้
  • ดูดซับความชื้นไม่ได้

ไปป์ฟิลเตอร์ 6 mm.

  • ใส่ตัวกรองแบบ 6 ได้
  • สูบแบบไม่มีฟิลเตอร์ได้
  • บางรุ่นมี Adapter ลดขนาดเป็น 3 mm. ให้ด้วย
  • ฟิลเตอร์ 6 mm. หาซื้อได้ยากกว่าแบบ 9 mm.
  • ตัว Adapter หาซื้อยาก

ไปป์ฟิลเตอร์ 9 mm.

  • กรองทาร์ นิโนตินได้
  • ดูดซับความชื้นระหว่าสูบได้ดี
  • ซื้อ Adapter ได้ง่ายกว่าแบบ 6 mm.
  • ฟิลเตอร์ขนาด 9 mm. หาซื้อง่าย
  • มีค่าใช้จ่ายในการซื้อฟิลเตอร์ตัวกรองเปลี่ยนทุกการสูบ 1-2 ครั้ง

เมื่อทราบข้อมูลเบื้องต้น และข้อดีข้อเสียของไปป์แต่ละแบบแล้ว ต่อไปก็คือการเลือกซื้อไปป์ที่เหมาะกับตัวเราที่สุด สำหรับการซื้อไปป์ Online สามารถขอดูรูปสินค้าจริงกับทางผู้ขาย หรือถ้าดีที่สุดก็คือ เดินทางไปเลือกในร้านขายไปป์ด้วยตัวเอง การได้เห็นไปป์ด้วยตา และได้ลองจับในมือ ทำให้เรามั่นใจ ว่าสิ่งที่ได้คือสิ่งที่เราต้องการจริงๆ

ต้องการสอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม หรือสนใจซื้อไปป์ สามารถติดต่อ Facebook Originpipeclub

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *